หากคุณกำลังมีปัญหา
น้ำหนักขึ้นง่าย โดยเฉพาะรอบเอว
อ่อนเพลียบ่อยๆ
นอนไม่หลับ ตื่นบ่อย
เจ็บป่วยบ่อยกว่าที่ควร
เริ่มหลงลืม ขาดสมาธิ
ซึมเศร้า วิตกกังวล
คุณอาจกำลังมีความเครียดสะสมที่มากเกินไป
=================================
ความเครียดเป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพ หากปล่อยไว้นานเกินไป มีผลให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน หรืออื่นๆอีกมากมาย
=================================
ปัจจุบันมีแนวทางประเมินความเครียดได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถาม การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต การตรวจวัดชีพจร (Heart rate variability) และการตรวจเช็คแล็บ จากเลือด จากปัสสาวะ หรือจากน้ำลาย
=================================
วันนี้จะมาแนะนำแล็บพื้นฐานจากเลือด ที่ใช้วิเคราะห์ความเครียดกันนะครับ
#ฮอร์โมนความเครียด (cortisol, DHEA-s)
ตรวจระดับ Cortisol และ DHEA-sulfate ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ร่างกายผลิตขึ้นมา หากสูงหรือต่ำเกินไป ก็เป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติครับ
#ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, T3, T4)
ไทรอยด์เองทำงานควบคู่กันไปกับฮอร์โมนความเครียด หากมีภาวะเครียดสะสมเยอะๆ ก็ไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมักจะไปในทางที่ผลิตน้อยลงครับ
#ระบบเผาผลาญ น้ำตาล และไขมัน (Lipid profile, Fasting blood sugar, Insulin)
เมื่อมีความเครียดเยอะๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ครับ เมื่อน้ำตาลสูงเกินไป ก็ไปสะสมอยู่ในรูปของไขมัน (Triglycerides) โดยเฉพาะในตับ ซึ่งตรวจวัดได้ง่ายๆในเลือดครับ นอกจากจะบ่งชี้ความเสี่ยงเบาหวานแล้ว ยังบ่งชี้ในทางอ้อมถึงปัญหาเครียดสะสมได้เช่นกันครับ
#ฮอร์โมนเพศ (Progesterone, Testosterone)
หลายๆคนคงสังเกตได้ว่าความรู้สึกทางเพศสัมพันธ์กับความเครียดในช่วงนั้นๆครับ ธรรมชาติร่างกาย เมื่อมีความเครียดมาก ฮอร์โมนเพศก็มักจะทำงานน้อยลง ตรงนี้เอง การตรวจฮอร์โมนเพศจึงอาจะจะเป็นตัวชี้วัดความเครียดที่ดีตัวนึงเลยหล่ะครับ
=================================
หากคุณกำลังสงสัยว่ามีปัญหาความเครียดสะสม ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ลองมาตรวจเช็คกันดูนะครับ
CHEKLAB ยินดีให้คำปรึกษาครับ
*การตรวจนี้เป็นเพียงการคัดกรองสุขภาพโดยรวม ไม่ได้ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด ผู้ตรวจสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมที่เหมาะสมได้
CHEKLAB.me
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์