IF หรือ Intermittent fasting เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่ได้รับความนิยมมากในตอนนี้
หลักการง่ายๆก็คือการงดอาหารเป็นช่วงๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการที่เป็นประโยชน์ในร่างกาย
วิธีการที่นิยมมากที่สุดก็คือสูตร 16/8 ที่เราจะงดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และมีช่วงเวลาในการรับประทานอาหารในกรอบ 8 ชั่วโมง
IF ถูกนำมาใช้ในการช่วยลดน้ำหนัก ส่งเสริมการทำงานของสมอง ช่วยเรื่องการนอน ลดการอักเสบของร่างกาย รวมไปถึงการชะลอวัย หรือความเสื่อมของร่างกาย
แต่ก็มีคำถามที่ถูกถามมาบ่อยๆว่า เราควรจะต้องตรวจเช็คร่างกายอะไรหรือไม่ ในขณะที่ทำ หรือหลังจากทำ IF ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งในแง่ความปลอดภัย และประโยชน์ที่วัดผลได้
=============================================
ในตอนนี้ ยังไม่ได้มีเกณฑ์ชัดเจนว่าเราควรตรวจอะไรบ้าง แต่ถ้าอิงตามหลักการแล้ว การตรวจพื้นฐานหลายๆอย่าง ก็น่าจะมีประโยชน์ครับ
=============================================
เริ่มต้นที่การตรวจไขมัน
เราตรวจระดับคอเรสเตอรอล และไขมัน ได้ทั้งก่อนและหลังทำ IF เพื่อใช้ประเมินเบื้องต้นได้ว่า เรามีภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) มากน้อยแค่ไหน และประเมินหลังทำ IF ว่าภาวะนี้ดีขึ้นหรือยัง และยังใช้ระดับคอเรสเตอรอลดูว่า อาหารที่เราเลือกเหมาะกับร่างกายหรือเปล่า
การตรวจน้ำตาล
เป็นตัวหลักที่ขาดไม่ได้ เราสามารถดูระดับน้ำตาลร่วมกับไขมัน (triglycerides) และฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ในการประเมินปัญหาภาวะดื้ออินซูลินได้ ความสำคัญหลักคือ IF ควรจะมีผลดีต่อภาวะนี้ หลังจบการทำ IF หากระดับน้ำตาลลดลง ไขมันลดลง และอินซูลินลดลง ก็ฟันธงได้เลยครับ ว่าเรามาถูกทางแล้ว
และกลุ่มสุดท้าย
#kidneyfunction #liverfunction #uricacid
เป็นทางเลือกที่ประเมินร่วมกันได้ คือค่าการทำงานของตับและไต และกรดยูริค เพราะแม้ว่า IF จะดีต่อร่างกาย แต่ก็เป็นความเครียดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเหล่านี้ในบางคนได้ ถ้ามีโอกาส
=============================================
การตรวจเช็คสุขภาพเหล่านี้เป็นประจำ จะช่วยให้เราสามารถสำคัญวัดผลได้จริงๆ เพื่อช่วยให้เราปรับเปลี่ยนการดูแลได้อย่างเหมาะสม ดูที่สำคัญดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัย
=============================================
Dr. Art
CHEKLAB.me
"We Measure What Matters"
#IF #Intermittentfasting #Food #Insulin #insulinresistance #labtests
CHEKLAB.me
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์