แนวทางการควบคุมอาหาร (Low Carb Healthy Fat Diet Plan)

 08 Jan 2021  เปิดอ่าน 3416 ครั้ง

แนวทางการควบคุมอาหาร (Low Carb Healthy Fat Diet Plan)


เพื่อความง่ายในการปฏิบัติ จำเป็นจะต้องเรียนรู้หลักและแนวทางปฏิบัติ

เพื่อให้ผลการลดน้ำหนักเกิดขึ้นได้ดีที่สุด และดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย

อาหารเช้า เพื่อผลที่ดีที่สุด แนะนำรับประทานโปรตีน ไขมัน และผักเท่านั้นในมื้อเช้า

หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารหวาน กาแฟ หรือชาที่ไม่ผสมน้ำตาลสามารถรับประทานได้

อาหากลางวัน ควรประกอบไปด้วยผักประมาณ 75% และโปรตีน 25% และส่วนไขมันที่ดี อย่างเช่นไขมันจากปลา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ถั่วหรือเมล็ดพืช

อาหารเย็น สัดส่วนคล้ายคลึงกับอาหารเที่ยง สามารถเพิ่มปริมาณอาหารที่มีแป้งที่ไม่แปรรูปเยอะได้เล็กน้อย อย่างเช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช 100% หรือผักที่มีแป้ง อย่างเช่น แครอท มันฝรั่ง มันเทศ


สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. อาหารทีมีโปรตีนกลูเทน(gluten) กลูเทนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในพืชในกลุ่มข้าวสาลี  ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ด ข้าวบาร์เลย์ หรือส่วนประกอบของเครื่องปรุงหลายๆชนิด เช่น ซอสถั่วเหลือง ซอสแม๊กกี้ เค๊ก คุกกี้ เป็นต้น เหตุผลเพราะโปรตีนกลูเทนอาจจะกระตุ้นการอักเสบของร่างกายและขัดขวางการลดน้ำหนักได้
  2. โฮลเกรน หรือธัญพืชแปรรูป จริงๆแล้วธัญพืชเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและกากไยที่ดี แต่ด้วยการแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ปริมาณแป้งเยอะและปริมาณกากไยลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงถ้าต้องการควบคุมน้ำหนัก
  3. อาหารที่มีส่วนประกอบของนม แม้ว่านมจะเป็นแหล่งโปรตีนและสารอาหารที่ดี แต่นมในรูปแบบอุตสาหกรรมอาจไม่ปลอดภัยนักสำหรับผู้บริโภค และพบว่าไม่น้อยที่มีปัญหาการแพ้นมหรือไม่ย่อยนม ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบขับถ่ายและภูมิคุ้มกันถ้ารับประทานมากเกินไป มีข้อยกเว้นก็คือ สำหรับบุคคลที่ไม่มีปัญหาการย่อยนม นมหรือเนยที่ได้จากวัวที่เลี้ยงอิสระในรูปแบบธรรมชาติสามารถรับประทานได้ และมีความปลอดภัยมากกว่า และจำไว้ว่าไม่จำเป็นต้องรับประทานนมพร่องมันเนย เพราะปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ไขมันจากนม แต่อยู่ที่น้ำตาลที่เติมแต่งเพิ่มไปและการปนเปื้อนตะหากที่อันตราย
  4. ถั่ว เมื่อพูดถึงถั่วมักจะมีความสับสนในประเภทของถั่ว ถั่ว(beans) อย่างเช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง มีปริมาณแป้งค่อนข้างมาก และอาจจะกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งมีโปรตีนเลคติน(lectins) ซึ่งกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย สุดท้ายคือถั่วส่วนใหญ่จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก อาจก่อให้เกิดแก๊สในลำไส้ได้ แต่ถั่วบางชนิดที่ผ่านการหมัก เช่นถั่วหมักญี่ปุ่น (tempeh) สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย เพราะย่อยง่ายขึ้นแล้ว ส่วนถั่วอีกประเภทเป็นถั่วจากผลของพืช (nuts) สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากมีปริมาณแป้งไม่มาก และยังอุดมไปด้วยไขมันที่ดี
  5. ผลไม้ เมื่อพูดถึงผลไม้ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงคุณประโยชน์ในแง่วิตามินและสารอาหารต้านอนุมูลอิสระ แต่ความจริงข้อหนึ่งก็คือผลไม้ส่วนใหญ่มีน้ำตาลฟลุกโต๊ส (fructose) ในขนาดที่สูง สำหรับบุคคลที่มีปัญหาภาวะอ้วนหรือเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้
  6. น้ำมันพืช ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันข้าวโพง คาโนล่า ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน ล้วนเป็นน้ำมันที่ผ่านการแปรรูปมาหลายขั้นตอน และเป็นไขมันในกลุ่ม omega-6 ซึ่งมีผลต่อร่างกายในทางลบมากกว่า จึงควรหลีกเลี่ยงน้ำมันเหล่านี้ 
  7. อาหารแปรรูป ส่วนใหญ่แล้วอาหารแปรรูปจะมีปริมาณของเกลือ สารถนอมอาหาร และสารเคมีสูง ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหลายอย่าง จึงควรหลีกเลี่ยง และหันมารับประทานอาหารที่ปรุงแต่งน้อย และธรรมชาติให้มากขึ้น
  8. น้ำตาลเทียม หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาลเทียมที่มากเกินไป แม้ว่าน้ำตาลเทียมจะมีปริมาณน้ำตาลต่ำ แต่ผลกระทบจากการกินอาหารที่มีรสชาติหวานก็คือภาวะติดน้ำตาล
  9. น้ำตาลธรรมชาติ แม้ว่าคำว่าธรรมชาติจะฟังดูดีต่อสุขภาพ แต่เมื่อพูดถึงการควบคุมน้ำหนัก น้ำตาลธรรมชาติก็ก่อให้เกิดภาวะติดน้ำตาลและภาวะอ้วนได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ้ง เมเปิ้ลไซรัป หรือ น้ำตาลมะพร้าว ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
  10. แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมาก ควรหลีกเลี่ยง


แหล่งไขมันที่ดี


โปรตีนจากสัตว์

  • เนื้อวัว ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ (beef, grass-fed)
  • เนื้อแกะ ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ (lamb, grass-fed)


สัตว์ปีก

  • ไก่บ้าน เลี้ยงแบบธรรมชาติ
  • เป็ด
  • ไข่ไก่ ไข่เป็ด


อาหารทะเล

  • ปลาทะเลน้ำลึก จะมีการปนเปื้อนปรอทต่ำ เช่น
  • ปลาซาดีน ปลาเฮอริ่ง
  • ปลาเทราท์
  • ปลาแซลมอลน้ำลึก (wild salmon)
  • กลุ่มหอยปู ปู กุ้ง หอยนางรมหอยแมลงภู่


ผลิตภัณฑ์จากนม

  • เนยแท้ จากวัวที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ
  • เนยแท้สกัด


นมทดแทน (nondairy milks)

  • นมจากอัลมอลด์ 
  • มะม่วงหิมพานต์ 
  • นมมะพร้าว


ถั่ว (nuts)

  • อัลมอลด์
  • ถั่วบราซิล (brazil nuts)
  • มะม่วงหิมพานต์ (cashews)
  • ถั่วพีแกน (pecans)
  • ฮาเซลนัท (hazelnuts)
  • แมคคาเดเมีย (macadamias)
  • เกาลัด (chestnuts)


เมล็ดพืช

  • เมล็ดเจีย
  • เมล็ดงาดำ งาขาว
  • แฟลกซีด (flaxseed)
  • เมล็ดฟักทอง
  • เมล็ดดอกทานตะวัน
  • วอลนัท (walnut)


ไขมันอิ่มตัวจากพืช

  • น้ำนมมะพร้าว
  • น้ำมันมะพร้าว (extra virgin coconut oil) เหมาะสำหรับปรุงอาหารทั้งความร้อนสูงและต่ำ
  • น้ำมันปาล์มแดง (red palm oil)


น้ำมันอื่นๆ

  • น้ำมันงา สามารถปรุงอาหารความร้อนสูงได้
  • น้ำมันมะกอก (extra virgin olive oil) สำหรับปรุงอาหารความร้อนต่ำเท่านั้น


พืชที่มีไขมันสูง

  • อะโวคาโด
  • เนยโกโก้
  • มะกอก
  • ดาร์ค ชอคโกแลต (dark chocolate)


แหล่งโปรตีนที่ดี

ในการควบคุมน้ำหนักที่ดี ไม่ควรรับประทานโปรตีนมากเกินไป เพราะใน 100 กรัมของโปรตีน สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้สูงถึง 56 กรัม หรือ 56% ดังนั้นปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 1 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัวกิโล ขึ้นกับสภาพของร่างกาย เกินกว่านี้มักเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลส่วนเกิน แล้วสะสมในรูปไขมันในที่สุด

โปรตีนที่ดี มีดังนี้

  1. ไข่ไก่ ดีที่สุด ถ้าได้จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เนื่องจากสารอาหาร อย่างเช่นกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง
  2. เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ ที่เลี้ยงดูในแบบธรรมชาติ (grass-fed organic)
  3. ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันดี เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาเฮอริ่ง ปลาแซลมอลทะเลน้ำลึก
  4. อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแมลงภู่ ระวังการรับประทานกุ้งลอปสเตอร์ที่มากเกินไป เนื่องจากปริมาณปรอทสูง
  5. ปลาหมึก เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี
  6. เนื้อไก่ ที่เลี้ยงในแบบอิสระ และธรรมชาติ (free range, organic)
  7. พืชที่โปรตีนสูง ที่ไม่ตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ถั่วหมัก หรือเต้าหู้
  8. เมล็ดพืชที่มีโปรตีนสูง เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เป็นต้น
  9. ถั่ว มีส่วนประกอบของโปรตีนจากพืชสูง เช่น อัลมอนด์ วอลนัท พีแกน บราซิลนัท
  10. ** โปรตีนผง สามารถรับประทานทดแทนได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนผงที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เพราะสามารถกระตุ้นน้ำตาลในเลือดและการสะสมไขมันได้
  • เลือกแหล่งโปรตีนจากพืช เช่นเมล็ดเจีย หรือโปรตีนจากไข่ หลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วพี(pea) เนื่องจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่สูง อย่างไรก็ตามในระยะยาวสามารถใช้ทดแทนโปรตีนได้ แต่ไม่เหมาะในระยะที่ต้องการลดน้ำหนัก


แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดี

เมื่อพูดถึงเรื่องภาวะอ้วน คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาลอาจดูน่ากลัว และควรหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตามปัญหาไม่ได้อยู่ที่คาร์โบไฮเดรตโดยตัวเอง แต่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูป (refined carbohydrates) จนสูญเสียกากไยและสารอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหา ตัวอย่างคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ควรรับประทาน เช่น แป้งขัดสี อาหารแปรรูป ซีเรียลที่ผสมน้ำตาล ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น ส่วนแหล่งคาร์โบไฮเดรตจากธรรมชาติ อย่างเช่น ผัก หรือกลุ่มเมล็ดพืช ก็ยังสามารถรับประทานได้โดยไม่มีผลลบต่อการควบคุมน้ำหนัก


ผักที่มีแป้งน้อย สามารถรับประทานได้ไม่จำกัด

  • อะโวคาโด
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • ถั่วงอก
  • ผักกาด
  • แครอท
  • บลอคโคลี่
  • คะน้า
  • ผักชี
  • ผักชีฝรั่ง
  • มะเขือเทศ
  • กระเทียม
  • ขิง
  • ถั่วเขียว
  • เห็ด
  • วอเตอร์เครส
  • ผักโขม
  • สาหร่าย
  • หัวหอม
  • ต้นหอม


ผักที่มีแป้งเยอะ รับประทานได้จำกัด ไม่เกินครึ่งถ้วยต่อวัน

  • บีทรูท
  • ฟักทอง
  • หัวไชเท้า
  • มันเทศ


ผลไม้ จำกัดปริมาณ ไม่เกินครึ่งถ้วยต่อวัน

  • กีวี่
  • มะนาว
  • แตงโม
  • สตอเบอรี่
  • แต่ผลไม้ตระกูลเบอรี่หลายๆชนิดสามารถรับประทานได้มากขึ้น เนื่องจากน้ำตาลต่ำ เช่น ราสเบอรี่ บลูเบอรี่ แบลคเบอรี่ เป็นต้น


อื่นๆ

  • แป้งอัลมอนด์ (almond flour)
  • แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล (apple cider vinegar)
  • น้ำส้มสายชู บัลซาลมิค (Balsamic vinegar)
  • แป้งข้าวโพด (coconut flour)
  • โกโก้
  • ผงเครื่องเทศ
  • เกลือทะเล
  • ผงวนิลา
  • ซุปต่างๆ ที่ไม่ใส่น้ำตาลหรือผงชูรส


เครื่องดื่มที่ดี

ให้แน่ใจว่าดื่มน้ำสะอาดไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรในแต่ละวัน การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอมีประโยชน์ต่อระบบการขับสารพิษ และป้องกันภาวะท้องผูก เครื่องดื่มอื่นๆที่มีน้ำตาลต่ำสามารถทดแทนได้ เช่น

  • น้ำมะนาว น้ำตาลต่ำ
  • น้ำแร่ธรรมชาติ
  • ชา หรือ ชาสมุนไพร
  • กาแฟ
  • ซุปน้ำใส
  • น้ำนมมะพร้าวธรรมชาติ ไม่ผสมน้ำตาล


เขียนโดย นพ. ชวภณ กิจหิรัญกุล

เวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ

Preventive and Anti-Aging Medicine

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู ผู้เชี่ยวชาญการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก การชะลอวัยและการฟื้นฟู อาหารฟังก์ชั่น

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

รพ.BNH

เบอร์โทร

02-022-0700

ที่อยู่

9/1 ถนน คอนแวนต์ แขวง สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

เวลาทำการ

Mon 09:00 - 17:00 น.
Wed 09:00 - 17:00 น.
Fri 13:00-16:00 น.
Sun 09:00 - 12:00 น.

Sanwiz Lab/Cheklab.me

Teleconsult

เบอร์โทร

063-343-1500

ที่อยู่

399/4 Room 4, สีลม ซอย 7 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กทม 10500

เวลาทำการ

Mon-Sat 9:00 น. - 17:00 น.

Vital Medi Clinic

เบอร์โทร

094-263-9964

ที่อยู่

4th floor, The Marche ซอย ทองหล่อ 4 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

เวลาทำการ

Tue 9:00-18:00
Sat 9:00-16:00